9. คำสั่งทำซ้ำ for

https://drive.google.com/file/d/1vm2xK-5ZJFiZ-M9a9eHC7LM7Nf3j4t1Z/view?usp=sharing

9.1. จุดประสงค์รายสัปดาห์

  1. ระบุข้อแตกต่างระหว่างการทำซ้ำแบบ for และ while ได้

  2. ใช้คำสั่ง for เพื่อไล่แสดงสมาชิกของ tuple, list และ dict ได้

  3. เขียนโปรแกรมแก้ปัญหาโดยใช้การทำซ้ำและ nested loop ได้

9.2. ที่มาและความสำคัญ

ในการเขียนโปรแกรมโดยส่วนใหญ่จำเป็นต้องเขียนคำสั่งเพื่อทำงานเดิมซ้ำกันหลายๆครั้ง การใช้คำสั่งทำซ้ำวนไปหลายๆรอบนั้นเรียกว่า Loop

การใช้คำสั่ง Loop มีสองแบบได้แก่

  1. แบบที่รู้จำนวนครั้งในการทำซ้ำแน่นอน เรียกว่า definite loop

  2. แบบที่ไม่รู้จำนวนครั้งในการทำซ้ำ เรียกว่า indefinite loop จำเป็นต้องตั้งเงื่อนไขในการทำงาน ถ้าเงื่อนไขในการทำงานเป็นเท็จก็จะหยุดทำงาน

โดยปกติแล้วถ้าเป็นรู้จำนวนครั้งที่ต้องทำงานซ้ำแน่นอนจะใช้คำสั่ง for แต่ถ้าไม่รู้จำนวนครั้งที่แน่นอนต้องใช้เงื่อนไขตรวจสอบการทำงานจะใช้คำสั่ง while

เนื้อหาสัปดาห์นี้จะเน้น การใช้งานคำสั่ง for

9.3. คำสั่งทำซ้ำ n ครั้ง

for i in range(n):
    print(i)

9.4. Exercises

EX1101 เขียนคำสั่งแสดงข้อความ hello ทั้งหมด 10 บรรทัด

EX1102 เขียนคำสังแสดงข้อความต่อไปนี้

*
**
***
****
*****

EX1103 เขียนคำสั่งแสดงข้อความต่อไปนี้

*****
****
***
**
*

EX1104 เขียนคำสั่งเพื่อรับตัวเลข 10 ตัวจากผู้ใช้ มาเก็บไว้ใน list ชื่อ a

EX1105 เขียนคำสั่งเพื่อรับตัวเลข n ตัวจากผู้ใช้ มาเก็บไว้ใน list ชื่อ a โดยให้ผู้ใช้ระบุ ค่า n

9.5. คำตอบข้อ EX1104

โจทย์ เขียนคำสั่งเพื่อรับตัวเลข 10 ตัวจากผู้ใช้ มาเก็บไว้ใน list ชื่อ a

solution

a = []
for i in range(10):
    x = int(input())
    a.append(x)

print(a)

9.6. การไล่ดูสมาชิกของชุดข้อมูล

9.6.1. tuple

a = (1,2,3,4,5,6,7)
for i in a:
    print(i)

9.6.2. list

a = [3,5,7,9,10,19,17,15]
for i in a:
    print(i)

9.7. Exercises

EX1106 เขียนคำสั่งเพื่อไล่แสดงสมาชิก ของ tuple ('Andy','Betty','Cathy','Eddy','Franky')

EX1107 เขียนคำสั่งเพื่อไล่แสดงสมาชิก ของ list [2,4,6,8,10]

EX1108 เขียนคำสั่งเพื่อไล่แสดงสมาชิกของ list ที่ผู้ใช้กรอกใน 1 บรรทัด เช่น 1,3,4,5,6,7,9

EX1109 เขียนคำสั่งเพื่อไล่แสดงสมาชิกของ list ที่ผู้ใช้กรอกใน 2 บรรทัด โดยแต่ละบรรทัดมีสมาชิกหลายตัวเลขคั่นด้วย ,

EX1110 เขียนคำสั่งเพื่อไล่แสดงสมาชิกของ list ที่ผู้ใช้กรอกใน n บรรทัด โดยแต่ละบรรทัดมีสมาชิกหลายตัวเลขคั่นด้วย ,

9.8. เฉลยข้อ EX1109

โจทย์ เขียนคำสั่งเพื่อไล่แสดงสมาชิกของ list ที่ผู้ใช้กรอกใน 2 บรรทัด โดยแต่ละบรรทัดมีสมาชิกหลายตัวเลขคั่นด้วย ,

ตัวอย่างข้อมูลนำเข้า

2,3,4,5,6,7
2,4,7,8,5

ตัวอย่างข้อมูลส่งออก

[2,3,4,5,6,7,2,4,7,8,5]

Solution

a = []
# อ่านข้อมูลบรรทัดแรก
line = input()
strlist = line.split(',')
intlist = map(int, strlist)
a.extend(intlist)
# อ่านข้อมูลบรรทัดที่สอง
line = input()
strlist = line.split(',')
intlist = map(int, strlist)
a.extend(intlist)
# แสดงข้อมูล
print(a)

9.8.1. dict - key, value เป็นข้อมูลพื้นฐาน

# dictionary
ages = {
    'Andy': 23,
    'Betsy': 20,
    'Cathy':  21,
    'Dorothy': 23
}

การไล่ดูสมาชิกโดยใช้ key

for key in ages.keys():
    print(ages[key])

การไล่ดูสมาชิกโดยใช้ value

for value in ages.values():
    print(value)

การไล่ดูสมาชิกโดยใช้ key,value

  • สำหรับ python2 ใช้คำสั่ง

for key,value in ages.iteritems():
    print(key, value)
  • สำหรับ python3 ใช้คำสั่ง

for key,value in ages.items():
    print(key, value)

9.8.2. dict - key, value เป็น list

# dictionary ที่มี value เป็น list
scores = {
    'Andy': [23, 30, 23],
    'Betsy': [20, 22, 25],
    'Cathy':  [19, 25, 21],
    'Dorothy': [23, 25, 25]
}

การไล่ดูสมาชิกโดยใช้ key

for key in scores.keys():
    print(scores[key])

การไล่ดูสมาชิกโดยใช้ value

for value in scores.values():
    print(value)

การไล่ดูสมาชิกโดยใช้ key,value

  • สำหรับ python2 ใช้คำสั่ง

for key,value in scores.iteritems():
    print(key, value)
  • สำหรับ python3 ใช้คำสั่ง

for key,value in scores.items():
    print(key, value)

9.8.3. dict - key, value เป็น dict

students = {
    'Andy': { 'age': 23, 'gpa': 3.39 },
    'Betsy': { 'age': 20, 'gpa': 3.23 },
    'Cathy': { 'age': 21, 'gpa': 3.35 },
    'Dorothy': { 'age': 23, 'gpa': 3.40 },
}

การไล่ดูสมาชิกโดยใช้ key

for key in students.keys():
    print(students[key])

การไล่ดูสมาชิกโดยใช้ value

for value in students.values():
    print(value)

การไล่ดูสมาชิกโดยใช้ key,value

  • สำหรับ python2 ใช้คำสั่ง

for key,value in students.iteritems():
    print(key, value)
  • สำหรับ python3 ใช้คำสั่ง

for key,value in students.items():
    print(key, value)

9.9. Exercises

EX1111 เขียนคำสั่งเพื่อเก็บข้อมูลนักศึกษา 10 คน เป็น dictionary โดยให้ผู้ใช้กรอก ชื่อ และ อายุ เป็นข้อมูลของนักศึกษาแต่ละคน

EX1112 เขียนคำสั่งเพื่อเก้บข้อมูลนักศึกษา n คน ตามที่ผู้ใช้ระบุ เป็น dictionary โดยข้อมูลของนักศึกษาแต่ละคนมี อายุ, เกรดเฉลี่ย และ email โดยให้ใช้ email เป็น key

EX1113 เก็บข้อมูล dictionary ของ รายวิชาในหลักสูตรที่นักศึกษาลงในเทอมนี้ (key ควรเป็นอะไร? value ควรเป็นอะไร?)

EX1114 เก็บข้อมูล dictionary ของ เพื่อน 5 คน (key ควรเป็นอะไร? value ควรเป็นอะไร?)

9.10. เฉลยข้อ EX1111

โจทย์ เขียนคำสั่งเพื่อเก็บข้อมูลนักศึกษา 10 คน เป็น dictionary โดยให้ผู้ใช้กรอก ชื่อ และ อายุ เป็นข้อมูลของนักศึกษาแต่ละคน

ตัวอย่างข้อมูลนำเข้า

Andy Adams,20
Betty Bailey,22
Cathy Cooper,19
Dorothy Davies,21
Eddy Evans,19
Franky Fox,21
Georgy Green,20
Henry Harris,21
Iggy Isaac,19
Johny Jacobs,20

ตัวอย่างข้อมูลส่งออก

{'Andy Adams': 20, 'Betty Bailey': 22, 'Cathy Cooper': 19, 'Dorothy Davies': 21, 'Eddy Evans': 19, 'Franky Fox': 21, 'Georgy Green': 20, 'Henry Harris': 21, 'Iggy Isaac': 19, 'Johny Jacobs': 20}

Solution

students = {}
for i in range(10):
    line = input()
    strlist = line.split(',')
    students[ strlist[0] ] = int(strlist[1])

print(students)

9.11. การใช้คำสั่งเงื่อนไขในคำสั่งทำซ้ำ

ในกรณีที่ต้องการตั้งเงื่อนไขในการทำงานสำหรับการทำคำสั่งทำซ้ำในแต่ละรอบนั้น สามารถทำได้ด้วยคำสั่งการซ้อนคำสั่ง if ไว้ภายในคำสั่ง for

ตัวอย่าง จงเขียนคำสั่งเพื่อคะแนนของนักศึกษา 10 คน จากนั้นแสดงเกรดและคะแนนโดยเรียงคะแนนจากมากไปน้อย

เงื่อนไข เกรด

ช่วงคะแนน |

เกรด |

0 <= คะแนน < 50

'F'

50 <= คะแนน < 60

'D'

60 <= คะแนน < 70

'C'

70 <= คะแนน < 80

'B'

80 <= คะแนน <= 100

'A'

ตัวอย่างข้อมูลนำเข้า

73.45
66.52
82.50
53.37
79.55
85.98
75.75
78.49
84.25
86.22

ตัวอย่างข้อมูลส่งออก

A,86.22
A,85.98
A,84.25
A,82.5
B,79.55
B,78.49
B,75.75
B,73.45
C,66.52
D,53.37

Solution 1

scoregrades = []
for i in range(10):
    score = float(input())
    grade = 'A'
    if score < 50:
        grade = 'F'
    elif score < 60:
        grade = 'D'
    elif score < 70:
        grade = 'C'
    elif score < 80:
        grade = 'B'
    scoregrades.append( [score, grade] )

sortedscoregrades = sorted(scoregrades, reverse=True)
for scoregrade in sortedscoregrades:
    print(f'{scoregrade[1]},{scoregrade[0]}')

Solution 2

def grade(score):
    grade = 'A'
    if score < 50:
        grade = 'F'
    elif score < 60:
        grade = 'D'
    elif score < 70:
        grade = 'C'
    elif score < 80:
        grade = 'B'
    return grade

scoregrades = []
for i in range(10):
    score = float(input())
    scoregrades.append( [score, grade(score)] )

sortedscoregrades = sorted(scoregrades, reverse=True)
for scoregrade in sortedscoregrades:
    print(f'{scoregrade[1]},{scoregrade[0]}')

Solution 3

def grade(score):
    return 'FDCBA'[sum([1 for i in (50,60,70,80) if score > i ])]

scoregrades = []
for i in range(10):
    score = float(input())
    scoregrades.append( [score, grade(score)] )

sortedscoregrades = sorted(scoregrades, reverse=True)
for scoregrade in sortedscoregrades:
    print(f'{scoregrade[1]},{scoregrade[0]}')

9.12. ฟังก์ชัน sorted( )

``sorted()`` เป็นฟังก์ชันที่สามารถใช้ได้เลยใน python หรือเป็น builtin functions สำหรับ เรียงสร้างชุดข้อมูลใหม่ที่เกิดจากการเรียงลำดับชุดข้อมูลที่ส่งให้ฟังก์ชัน โดยชุดข้อมูลใหม่ที่สร้างเป็น list

sorted(iterable, *, key=None, reverse=False)
  • iterable \(\to\) เป็นชุดข้อมูล เช่น tuple, list และ dict

  • key \(\to\) เป็นฟังก์ชันระบุข้อมูลที่จะนำมาใช้เรียงลำดับ ถ้าไม่ระบุจะเรียงโดยใช้ข้อมูลลำดับที่ 0

  • reverse \(\to\) ถ้าเป็น True เรียงลำดับจากมากไปน้อย ถ้าเป็น False หรือไม่ระบุจะเรียงจากน้อยไปมาก

ตัวอย่างการใช้งาน

s = sorted([5,3,4,5,6,7])
print(s)

a = [5,3,4,5,6,7]
s = sorted(a, reverse=True)
print(s)

การเรียงลำดับ list ของ list

students = [
    [ 'Andy',    20, 3.74 ],
    [ 'Betty',   19, 2.95 ],
    [ 'Cathy',   21, 3.25 ],
    [ 'Eddy',    19, 3.75 ],
    [ 'Franky',  20, 3.12 ],
    [ 'Dorothy', 22, 2.97 ]
]

def zero(e):
    return e[0]

def one(e):
    return e[1]

def two(e):
    return e[2]

เรียงลำดับตามชื่อ

s0 = sorted(students, key=zero)

เรียงลำดับตามอายุ จากมากไปน้อย

s1 = sorted(students, key=one, reverse=True)

เรียงลำดับตามเกรดเฉลี่ย จากน้อยไปมาก

s2 = sorted(students, key=two)

การเรียงลำดับ dict

students = {
    'Andy':     3.74,
    'Betty':    2.95,
    'Cathy':    3.25,
    'Eddy':     3.75,
    'Franky':   3.12,
    'Dorothy':  2.97
}

การเรียงลำดับ key ของ dict

s = sorted(students.keys())
print(s)

การเรียงลำดับ key ตามค่าของ value ใน dict

sortedkeysbyvalue = sorted(students, key=students.get)
print(sortedkeysbyvalue)

9.13. การใช้คำสั่งเงื่อนไขในคำสั่งทำซ้ำ

ตัวอย่าง จงเขียนคำสั่งเพื่อรับข้อมูลนักศึกษา 10 คน โดยข้อมูลของนักศึกษาแต่ละคนประกอบด้วย ชื่อ,เกรดเฉลี่ย แล้วโปรแกรมแสดงรายชื่อของนักศึกษาที่มีเกรดเฉลี่ยมากกว่าหรือเท่ากับ 3.5 โดยเรียงลำดับจากมากสุดไปหาน้อยสุด

ตัวอย่างข้อมูลนำเข้า

Andy Adams,3.45
Betty Bailey,3.52
Cathy Cooper,3.50
Dorothy Davies,3.37
Eddy Evans,3.55
Franky Fox,3.98
Georgy Green,2.75
Henry Harris,3.49
Iggy Isaac,3.25
Johny Jacobs,3.22

ตัวอย่างข้อมูลส่งออก

Franky Fox,3.98
Eddy Evans,3.55
Betty Bailey,3.52
Cathy Cooper,3.50

Solution

namegpa = {}
for i in range(10):
    strlist = input().split(',')
    gpa = float(strlist[1])
    if gpa >= 3.50:
        namegpa[strlist[0]] = gpa

sortednamelist = sorted(namegpa, key=namegpa.get, reverse=True)
for name in sortednamelist:
    print(f'{name},{namegpa[name]}')

9.14. การซ้อนคำสั่งทำซ้ำ Nested for Loop

นอกจากการซ้อนคำสั่งเงื่อนไขในคำสั่งทำซ้ำแล้ว เรายังสามารถซ้อนคำสั่งทำซ้ำในคำสั่งทำซ้ำอีกด้วย ช่วยให้สามารถแก้ปัญหาแบบหลายระดับชั้นได้

for i in range(3):
    for j in range(5):
        print(f'i={i}, j={j}', end=' ')
    print('')

ตัวอย่าง

for i in range(8):
    for j in range(8):
        if i%2 == j%2:
            print('\u2766', end='')
        else:
            print('\u2767', end='')
    print()

9.15. Exercises

EX1115 จงเขียนโปรแกรมเพื่อเก็บคะแนนของ 3 รายวิชาใน 1 ภาคเรียน โดยที่แต่ละรายวิชามีข้อมูลคะแนนของนักศึกษาแต่ละคนที่ลงทะเบียนในรายวิชา

ตัวอย่างข้อมูลนำเข้า

1144131,Programming Fundamental,5
Andy,20,22,23,10
Betty,22,25,22,8
Cathy,19,27,20,9
Dorothy,23,30,21,10
1104111,Discrete Mathematics,3
Andy,20,22,25,10
Cathy,19,27,21,9
Dorothy,23,30,22,10
1144285,Java Programming,6
Andy,19,21,25,10
Betty,21,25,20,9
Cathy,19,26,20,9
Dorothy,23,28,21,10
Eddy,24,29,20,9

EX1116 จงเขียนโปรแกรมเพื่อหาค่าคะแนนรวมของนักศึกษาแต่ละคนในของ 3 รายวิชาใน 1 ภาคเรียน ตามรูปแบบข้อมูลที่ระบุไว้ในข้อ EX1115

EX1117 จงเขียนโปรแกรมเพื่อหาค่าคะแนนรวมของนักศึกษาแต่ละคนในของ n รายวิชาใน 1 ภาคเรียน โดยผู้ใช้ระบุจำนวนรายวิชา n

EX1118 จงเขียนโปรแกรมเพื่อหาค่าคะแนนตามรูปแบบข้อมูลที่ระบุไว้ในข้อ EX1115 แล้วแสดงเกรดของนักศึกษาตามรายวิชาจำนวน n รายวิชา โดยใช้ช่วงคะแนนตามตาราง

เงื่อนไข เกรด

ช่วงคะแนน |

เกรด |

0 <= คะแนน < 50

'F'

50 <= คะแนน < 60

'D'

60 <= คะแนน < 70

'C'

70 <= คะแนน < 80

'B'

80 <= คะแนน

'A'

ตัวอย่างข้อมูลส่งออก

Andy
1104111,B
1144131,B
1144285,B
Betty
1144131,B
1144285,B
Cathy
1104111,B
1144131,B
1144285,B
Dorothy
1104111,A
1144131,A
1144285,A
Eddy
1144131,B
1144285,A
Franky
1144285,B

9.16. เฉลยข้อ EX1117

โจทย์

จงเขียนโปรแกรมเพื่อหาค่าคะแนนรวมของนักศึกษาแต่ละคนในของ n รายวิชาใน 1 ภาคเรียน โดยผู้ใช้ระบุจำนวนรายวิชา n

รูปแบบข้อมูลนำเข้า

  • บรรทัดแรกระบุจำนวนรายวิชา n

  • ตามด้วยข้อมูลรายวิชา n วิชา

  • ข้อมูลแต่ละรายวิชาเริ่มด้วยข้อมูลทั่วไป ซึ่งประกอบด้วย รหัสวิชา,ชื่อวิชา,จำนวนนักศึกษาที่ลงทะเบียน x

  • ถัดมาอีก x บรรทัดเป็น ชื่อนักศึกษา และ คะแนนดิบที่ได้ 4 ส่วน คั่นด้วย ,

รูปแบบข้อมูลส่งออก

  • แสดงข้อมูลตามรายชื่อนักศึกษาโดยเรียงลำดับตามชื่อนักศึกษา

  • ข้อมูลของนักศึกษาแต่ละคนประกอบไปด้วยลำดับของรายวิชาทั้งหมดที่ลง เรียงตามรหัสรายวิชา

  • ข้อมูลรายวิชาของนักศึกษาประกอบด้วย รายวิชาและคะแนนรวมคั่นด้วย ,

ตัวอย่างข้อมูลนำเข้า

3
1144131,Programming Fundamental,5
Andy,20,22,23,10
Betty,22,25,22,8
Cathy,19,27,20,9
Dorothy,23,30,21,10
Eddy,20,28,20,10
1104111,Discrete Mathematics,3
Andy,20,22,25,10
Cathy,19,27,21,9
Dorothy,23,30,22,10
1144285,Java Programming,6
Andy,19,21,25,10
Betty,21,25,20,9
Franky,20,23,22,10
Cathy,19,26,20,9
Dorothy,23,28,21,10
Eddy,24,29,20,9

ตัวอย่างข้อมูลส่งออก

Andy
1104111,77
1144131,75
1144285,75
Betty
1144131,77
1144285,75
Cathy
1104111,76
1144131,75
1144285,74
Dorothy
1104111,85
1144131,84
1144285,82
Eddy
1144131,78
1144285,82
Franky
1144285,75

Solution

n = int(input())
students = {}
for i in range(n):
    course = input().split(',')
    x = int(course[2])
    for j in range(x):
        strlist = input().split(',')
        name = strlist[0]
        scores = map(int, strlist[1:])
        if name in students.keys():
            students[name][course[0]] = sum(scores)
        else:
            students[name] = {
                course[0]: sum(scores)
            }
for name in sorted(students.keys()):
    print(f'{name}')
    for course in sorted(students[name].keys()):
        print(f'{course}: {students[name][course]}')